วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

ขอนิมนต์เรียนเชิญร่วมกันเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารเพลพระนิสิตพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิปัสสนาภาวนารุ่นที่9กำลังปฏิบัติธรรมเข้ากัมมัฏฐาน7เดือน ขณะนี้ผ่านไป2เดือนแล้ว ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมธรรมโมลี อ. ปากช่อง ในวันเสาร์ที่13กย นี้ ไปร่วมกันมากๆเด้อครับ

และในเดือนตุลาคม ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๗ ครับ
ท่านใดไม่สามารถไปร่วมได้ แต่ปรารถนาจะร่วมเป็นเจ้าภาพร่วมกันแจ้งความจำนงค์มาได้ครับ



วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เรื่อง...ชาตินี้ ชาติหน้า
ขึ้นอยู่กับว่า..สติปัญญาสั่งสมมาแบบไหน...ลัทธิ ความเชื่อ สิ่งที่เอื้อ...ศาสนา
กับบางความเชื่อลัทธิศาสนาสอนว่า...
พระเจ้าผู้สร้าง ผู้เนรมิต ผู้ให้เป็นไป...สังคมผู้คนในบางคนบางกลุ่มก็เลยสับสนว่า...
หากพระเจ้าไม่สร้างก็จะไม่มีอะไร
เอาชีวิตไปฝากไว้กับสิ่งที่ไร้ความจริง
แม้ทำบาปทำกรรมชั่วฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
มาเข้าทำพิธีล้างบาปก็หายไปไม่มีบาปกรรมอะไร...หากล้างไม่ออกไม่เป็นไปตามความเชื่อนั้นอะไรเกิดและใครที่ซวย...?
พระเจ้ายังเอาตัวไม่รอด...ตายทำไม? ทำไมไม่สร้างตนเองให้อมตะอยู่ค้ำฟ้า..เย้ยฟ้าท้าดิน...ไหนว่าสร้างทุกอย่าง ตัวเองยังเอาไม่รอดเลยจะไปสร้างอะไรสร้างใคร...?
เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ของทุกๆชีวิต
หากก้าวผิดทางไปคงห่างไกลไปจากความจริง
และคงไม่มีใครจะช่วยใครได้เพราะขึ้นอยู่กับใจที่เห็นไปเช่นนั้นก็ต้องได้รับผลเช่นนั้น
ก็น่าเห็นใจเพราะภพภูมิที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อธรรมดาอย่างเราๆพระอริยเจ้าท่านเห็นท่านก็หมดปัญหาที่จะต้องเกิดแบบเราๆ ท่านจึงเข้าใจ เหลือแต่พวกเรา...

มาดูเหตุผลเป็นหลักใจเอาไว้เปรียบเทียบ

พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้...
สรรพสิ่งที่เป็นไปทั้งหมดในจักรวาลนี้
เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
คือใครทำเหตุใดไว้ก็ต้องได้รับผลนั้นแบบนั้น
ไม่มีใครสร้าง..ไม่มีใครบังคับบัญชา เนรมิต ดลบันดาลให้เป็นไปในอำนาจใดๆของใครได้
การ...คิด พูด ทำ ที่เป็นกรรมเท่านั้นที่จะพาเราไป
กุศลกรรมบถ อกุศลกรรมบถ ที่ไปตัวแปรชีวิต
ที่จะไปเกิดใหม่ในแต่ละภพภูมิ พรหม เทวดา มนุษย์ เปรต อสูรกาย นรก เดรัจฉาน
ถึงใครจะปฏิเสธไม่เชื่อให้หันมองข้างๆว่าสัตว์หลากหลายสายพันธุ์ชนิดที่รูปร่างหน้าตาต่างกันตัวเราด้วยที่เกิดมาให้เรามองเห็นทั้งหมดมาจากไหน?
การจะเชื่อหรือไม่เชื่อชาติใหม่ไม่ใช่ประเด็น
ประเด็นของเราคือหากตายไปจริงแล้วเกิดมีชาติใหม่จริง..เราจะเกิดเป็นอะไร? นี่คือสิ่งสำคัญ...

เหตุผลทางจิตวิญญาณ
จิตที่มีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
และเป็นไปอย่างรวดเร็ว
๛อุปาทขณะ เกิดขึ้น
๛ฐีติขณะ ตั้งอยู่
๛ภังคขณะ ดับไป
ความไวของจิตรวดเร็วแค่ไหนลองคิดไปในที่ที่เราเคยไปที่คิดว่าไกลที่สุดสิ..ถึงทันที่...จิตเราไวแบบนั้นที่ท่านใช้คำว่า วิถีจิต หากิน เจตสิกไม่เกิดดับ รูปร่างกายของเราจะไม่แก่...แต่ความจริงเราแก่กันไหม...ในทุกๆขณะ/วัน/เดือน/ปี/เวลาที่หมุนไป...กาลเวลากลืนกินสรรพสัตว์พร้อมกันตัวของมันเอง จิต เจตสิก เกิด*ดับ ร่วมกัน 17 ขณะ รูปจึงเกิดดับขณะหนึ่งร่างกายของเราจึงแก่ลงๆๆๆ
ตัวตัณหาผู้สร้างภพ...
การเกิดใหม่ในชาติใหม่ก็ดับจากภพเก่าก็เกิดในภพใหม่ทันที.. จุติ...เคลื่อนภพ ปฏิสนธิ...สืบต่อภพใหม่ในทันที...ขณะจิตต่อขณะจิต2ขณะทำงานร่วมกัน ขึ้นอยู่กับจิตขณะสุดท้ายของเราคิดอะไรเกี่ยวข้องกับสิ่งใดไปเกิดเป็นอย่างนั้น...เช่น โตเทยยพราหม์ไปเกิดเป็นสุนัขเพราะความหลง..เรื่องนี้พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงรู้ชัด...

อุปมา ดุจเมล็ดมะม่วง
มีมะม่วงอยู่ต้นห
เรานำเมล็ดมะม่วงไปปลูกในที่ใหม่
ต้นใหม่ที่โตขึ้นมาในที่ไหม่
ถามว่าใช่มะม่วงต้นเก่าไหม?
ไม่ใช่..เป็นต้นที่งอกออกมาใหม่
แต่ต้นใหม่ที่เกิดขึ้นมา...
ถามว่า...เป็นมะม่วงต้นใหม่ที่ได้มาจากต้นเก่านั้นเป็นเหตุใช่ไหม?
นึ่งโตติดดอกออกผลสุกร่วงหล่นลงมา...
มะม่วงต้นใหม่ที่ได้มาจากสายพันธุ์ของต้นเก่า...
คำถามที่น่าสนใจลึกลงไปคือ...
ตอนที่ยังเป็นเม็ดมะม่วงอยู่นั้น...ราก..ต้น..เปลือก..กิ่งก้าน..ใบ..ยอด..ดอก..ผล...ของมะม่วงที่จะงอกขึ้นมาต้นใหม่ไปอยู่เสียที่ไหน..? ลองผ่าค้นหาดูในเม็ดมะม่วงไม่เจอ
แต่ทำไมเรานำลงไปปลูกเพาะไว้ในดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปุ๋ยน้ำ...มะม่วงต้นใหม่เกิดขึ้นมาไหม?
ต้นใหม่รสชาดมะม่วงจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับต้นเก่าสายพันธุ์ดีไหม เหมือนจิตใจของเราในภพที่เราไปเกิดใหม่..จิตใจในภพเก่าถูกฝึกเอาไว้ในแบบใด จิตใจในภพใหม่ก็แบบนั้น...
นี่..กับต้นไม้ที่ไม่มีชีวิตในทางคำสอนของพระพุทธเจ้า อาศัยดินฟ้าอากาศธาตุ4 ก็เขียวขจี่..ได้ กับสิ่งที่มีชีวิตจิตวิญญาณการเกิดนี้จะไม่มีอย่างไร...ด้วยอำนาจกิเลส ตัณหา อุปาทาน นำพาไป...
เราเชื่อไหมแบบใกล้ๆตัว...วันพรุ่งนี้มี หยิบวันพรุ่งนี้มาดูได้ไหม?
หน้าตาเป็นอย่างไร...ชาติใหม่ก็เช่นกัน...

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พระเอกศักดิ์: วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเ...

พระเอกศักดิ์: วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเ...: วิปัสสนา  แปลว่าตามศัพท์ว่า  การเห็นชัดเจน  หรือ  การเห็นแจ้ง วิปัสสนา  แปลว่าตามใจความว่า การคิดอย่างชาญฉลาด มีปัญญา เกี่ยวกับสังขารธรรม...

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557


บุพกรรมของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงเล่าบุพกรรมของพระองค์ ในพระชาติต่าง ๆ ๑๔ ชาติ ทรงเริ่มพระชาติแรกที่ทรงปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า และได้ถวายท่อนผ้าเก่าผืนหนึ่งแก่พระผู้อยู่ป่าเป็นวัตร 
ผลแห่งทานนี้ได้เกิดแก่พระองค์ การที่ทรงเล่าบุพกรรมทั้งฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศลนี้ ก็เพื่อเป็นตัวอย่างว่า พระองค์เมื่อยังเป็นปุถุชน ก็ได้ทำดีและทำชั่วมาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นบทเรียนแก่พวกเรา ดังที่ตรัสไว้ตอนหนึ่งในพุทธาปทาน มีใจความว่า 
เมื่อเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย เห็นความเพียรเป็นความปลอดภัย ก็จงปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย 
อนึ่ง เรื่องบุพกรรมเล่มนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงกรรมและผลของกรรมที่แต่ละคนได้ทำไว้ ในเรื่องบุญและบาป ที่มักพูดกันว่า ด้วยอำนาจบาปที่ได้กระทำไว้ในชาตินี้ จะกลายเป็นแรงบาปส่งผลให้ไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย และกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป
ด้วยอำนาจบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ในชาตินี้ จะกลายเป็นแรงบุญส่งผลให้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป 
ผลกรรมที่แต่ละบุคคลได้ทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนดีที่นิยมเรียกว่าบุญ หรือส่วนชั่วที่นิยมเรียกกันว่าบาป ย่อมทำหน้าที่ในการตามให้ผลอย่างเที่ยงตรงและต่อเนื่อง โดยไม่มีอำนาจอื่นใดจะมาเบี่ยงเบนให้เป็นอย่างอื่นไปได้ ส่วนจะตามให้ผลทันตาเห็นในชาตินี้ หรือตามให้ผลในชาติต่อๆไปนั่น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง 
ค่านิยมในสังคมปัจจุบันนี้ มีอะไรหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปมาก บุคคลส่วนใหญ่ไม่ค่อยคำนึงถึงบาปบุญคุณโทษกันเท่าไรนัก จนบางครั้งถึงกับมีการพูดว่า ถ้ามัวแต่คำนึงถึงบาปบุญคุณโทษ ก็ไม่ต้องไปทำมาหากินอะไรกันหรอก มีหวังอดตายกันหมด หรือเรื่องบาปบุญคุณโทษเป็นเพียงนิทานหลอกเด็ก ประกอบกับคนทำความชั่วบางคนสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างสุขสำราญ และได้รับการยกย่องนานัปการว่าเป็นผู้มีเกียรติ เป็นผู้ทำคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพียงแค่การบริจาคเงินให้แก่องค์กรสาธารณกุศลเพียงเล็กน้อย เป็นต้นตัวอย่างที่เห็นกันอยู่นี้เองทำให้คนอีกเป็นจำนวนมากเกิดความรู้สึกสับสน หรือให้ความสำคัญเรื่องบาปบุญคุณโทษน้อยไปได้ 
ความจริง เรื่องบาปบุญคุณโทษมิใช่เป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ เพียงแต่ว่าคนที่ทำความดีและความชั่วยังมิได้ประสบผลของมันโดยตรง จึงทำให้บุคคลอีกส่วนหนึ่งเกิดความเข้าใจสับสนไป แต่เมื่อใดที่ผลของความดีและความชั่วให้ผลโดยตรงแล้วนั่นแหละ บุคคลนั้น ๆ จึงจะยอมรับว่า บาปบุญคุณโทษนั้นมีจริง และให้ผลตามที่แต่ละบุคคลได้ทำไว้ทุกประการ ดังตัวอย่าง เรื่อง บุพกรรมของพระพุทธองค์ 
ท่านพระอานนทเถระ เมื่อจะประกาศประวัติอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าด้วยบุพกรรมเก่า จึงกล่าวว่า 
ณ พื้นศิลาที่น่ารื่นรมย์ ใกล้สระอโนดาตโชติช่วงด้วยรัตนะต่าง ๆ ในละแวกป่า มีดอกไม้มีกลิ่นหอมนานาชนิด พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก มีหมู่ภิกษุหมู่ใหญ่ห้อมล้อม ประทับนั่งที่ศิลาอาสน์นั้น ได้ตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟังบุพกรรมของเรา ดังต่อไปนี้ 

๑. เรื่อง ถวายผ้าไว้ในอดีต จึงได้รับผลบุญ 
คราวหนึ่ง ขณะที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระอโนดาต ได้ตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า 
ในชาติก่อน เรา เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ เห็นภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร จึงได้ถวายผ้าเก่าผืนหนึ่ง ในกาลนั้น ข้าพเจ้าปรารถนาการตรัสรู้ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ผลของการถวายผ้าเก่าให้ผลในความเป็นพระพุทธเจ้า 
เรื่องนี้ มีกล่าวอธิบายขยายความไว้ว่า หลังจากที่พระสิทธัตถโพธิสัตว์ได้เจริญในศากยสกุล มีถิ่นกำเนิดชื่อว่ากรุงกบิลพัสดุ์ พระบิดามีพระนามว่า 
สุทโธทนะ พระมารดามีพระนามว่า มายาเทวี ทรงครองฆราวาสอยู่ ๒๙ ปี มีปราสาท ๓ หลัง มีชื่อว่า สุจันทะ โกกนุท และโกญจะ มเหสีพระนามว่ายโสธรา โอรสพระนามว่า ราหุล ทอดพระเนตรเห็นนิมิต ๔ ประการ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตายและสมณะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจ กลางคืนได้เสด็จทรงม้ากัณฐกะ พร้อมกับนายฉันนะ แล้วเสด็จถึงแม่น้ำอโนมานที รับสั่งให้นายฉันนะนำม้าและเครื่องทรงกลับ แล้วพระองค์ก็ตัดพระโมลีแล้ว ตั้งสัจจะอธิษฐานโยนไปในอากาศว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานทีแล้ว ก็ดำริอีกว่า ผ้าของชาวกาสีอย่างดีเหล่านี้ ไม่สมควรแก่ความเป็นสมณะของเรา ในทันใดนั้นเอง สหายเก่าเมื่อครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ซึ่งไปเกิดเป็นพรหมชื่อว่า ฆฏิการมหาพรหม ช่วงระยะพุทธันดรหนึ่ง ไม่ถึงความพินาศเลย (คือดำรงอยู่ในชั้นพรหมโลกตลอด) เพราะเคยเป็นเพื่อนกัน จึงคิดว่า วันนี้ สหายเก่าของเราจะบวช เราจะถือสมณบริขาร ๘ อย่างกล่าวคือ ไตรจีวร บาตร มีดน้อย เข็ม ประคดเอว และผ้ากรองน้ำไป เพื่อสหายเก่าของเรานั้นดีกว่า ครั้นแล้ว ก็นำสมณบริขารทั้ง ๘ อย่างนั้น มาถวายด้วยตนเอง พระโพธิสัตว์ก็รับแล้วครองผ้าที่เป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์อธิษฐานเพศนักบวชผู้อุดม 

๒. เรื่อง ห้ามผู้อื่นดื่มน้ำ ทำให้ต้องอดน้ำ 
คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระอโนดาต ได้ตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๒ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า 
ชาติปางก่อน เรา เมื่อครั้งเกิดเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง ได้เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่น จึงห้ามมันไว้ไม่ให้ดื่ม ด้วยผลกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เรากระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา 
มีเรื่องกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า ก่อนที่พระผู้มีพระภาคจะปรินิพพานหลังจากเสวยพระกระยาหารที่นายจุนทกัมมารบุตรจัดถวายแล้ว ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรงลงพระบังคนหนักเป็นโลหิต(ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด) ทรงมีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส(กระหายน้ำอย่างมาก) แต่ทรงใช้สติสัมปชัญญะข่มทุกขเวทนาไว้ ตรัสชวนท่านพระอานนท์ ออกเดินทางต่อไปยังกรุงกุสินารา ระหว่างทางทรงหยุดพักและรับสั่งให้พระเถระนำน้ำดื่มมาถวาย แต่พระอานนท์กราบทูลว่า น้ำในแม่น้ำตรงนั้น มีน้ำน้อยและถูกกองเกวียน ๕๐๐ เล่มเหยียบย่ำไปก่อนหน้านั้นแล้วก็ไม่ไปตักมาถวาย จนพระองค์ต้องรับสั่งในครั้งที่ ๓ พระอานนท์จึงไปตักน้ำนำมาถวายให้พระองค์ได้ทรงดื่ม และน้ำที่พระอานนท์ไปตักนั้น กลับเป็นน้ำใสสะอาด น่าอัศจรรย์ใจมาก 

๓. เรื่อง กล่าวตู่พระอรหันต์ ทำให้ต้องตกนรก 
คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระอโนดาด ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๓ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า 
ในชาติปางก่อน เราได้เคยเกิดเป็นนักเลงชื่อว่าปุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้ามีนามว่า สุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายใคร ด้วยผลกรรมนั้นเราจึงได้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานาน เสวยทุกขเวทนาหลายพันปี ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น ในภพสุดท้ายนี้ เราจึงได้รับการกล่าวตู่เพราะนางสุนทรีเป็นเหตุ 
เรื่องนี้ มีกล่าวไว้อธิบายไว้ว่า สมัยนั้น ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าเป็นอันมาก เป็นเหตุให้พวกเดียรถีย์ทั้งหลายอับเฉาสิ้นลาภสักการะไปตาม ๆ กัน ไม่ผิดอะไรกับแสงหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น วันหนึ่ง พวกเดียรถีย์ได้ปรึกษากันหาทางจะทำลายลาภสักการะของพระพุทธเจ้า เพื่อจะทำให้ตนได้ลาภสักการะ ดังที่เคยเป็น จึงขอแรงนางสุนทรีปริพาชิกาผู้มีรูปงามให้ไปทำลายพระพุทธเจ้า โดยให้ไปใส่ความว่าประพฤติร่วมประเพณีกับพระพุทธเจ้า 
นางสุนทรีทำเช่นนั้นอยู่ ๒-๓ วัน พวกเดียรถีย์ก็จ้างพวกนักเลงให้ไปฆ่านางสุนทรี แล้ว หมกไว้ที่ระหว่างกองขยะดอกไม้ใกล้พระคันธกุฎี พวกนักเลงได้ทำตามสั่งทุกประการ เอาละคราวนี้ พวกเดียรถีย์ก็แกล้งโจษจันหานางสุนทรี กราบทูลเรื่องนั้นแก่พระราชา พระราชารับสั่งให้ค้นหาจนทั่ว จึงได้ไปพบศพนางที่กองขณะดอกไม้ พวกเดียรถีย์จึงยกศพนางขึ้นเตียงแล้วหามเข้าไปยังพระนคร ทูลแด่พระราชาว่า สาวกของพระพุทธเจ้าฆ่านางสุนทรี แล้วหมกไว้ในระหว่างกองขยะดอกไม้ด้วยคิดว่า เราจักปกปิดกรรมชั่วที่พระพุทธเจ้าได้ทำไว้ 
พระราชาได้ให้ป่าวร้องไปทั่วพระนคร พวกเดียรถีย์ได้เที่ยวป่าวร้องด่าพวกภิกษุในภายในและภายนอกพระนคร แม้กระทั่งในป่า ภิกษุได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงกลับโจทมนุษย์เหล่านั้นอย่างนี้ แล้วตรัสคาถาเหล่านี้ว่า คนที่ชอบพูดเท็จ หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า “ฉันไม่ได้ทำ” ต่างก็ตกนรก คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่ว มีกรรมเลวทราม ตายไปแล้ว มีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า 
พระราชาได้ส่งตำรวจไปสืบสวนเรื่องนั้น บังเอิญว่า วันนั้น พวกนักเลงผู้ฆ่านางสุนทรี กำลังเมาสุราทะเลาะกันอยู่ในร้านสุราแห่งหนึ่ง พูดพาดพิงไปถึงนางสุนทรีว่าตนเองเป็นผู้ฆ่านางสุนทรีเอง พวกตำรวจจึงจับกุมตัวไปถวายพระราชา พระราชาได้ตรัสถาม ทราบความจริงว่า เดียรถีย์จ้างให้ฆ่านางสุนทรี จึงรับสั่งให้เรียกพวกเดียรถีย์มาแล้วทรงบังคับให้ไปเที่ยวป่าวร้องบอกแก่ชาวพระนครว่า นางสุนทรีนี้พวกข้าพเจ้าประสงค์จะสาดโคลนใส่พระพุทธเจ้าให้ฆ่านางแล้ว โทษของพระสาวกของพระพุทธเจ้าไม่มี เป็นโทษของพวกข้าพเจ้าฝ่ายเดียว พวกเดียรถีย์ได้ทำอย่างนั้นแล้ว คลายความสงสัยของมหาชนผู้โง่เขลาเสียได้ ต่อมา เดียรถีย์เหล่านั้น พร้อมด้วยพวกนักเลง ก็ถูกตัดสินประหารชีวิตฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตั้งแต่นั้นมา ลาภสักการะของพระพุทธเจ้าก็เจริญรุ่งเรืองตามเดิม 
๔. เรื่อง กล่าวตู่พระอรหันต์ ทำให้ตกนรกถึงแสนปี 
คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๔ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า เราเมื่อครั้นเกิดเป็นนักเลงหัวไม้ เป็นอันธพาล เพราะการกล่าวตู่พระนันทเถระ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เราจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานาน ถึง ๑๐๐,๐๐๐ ปี ครั้นได้เกิดเป็นมนุษย์ ก็ได้รับการกล่าวตู่มาก ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น นางจิญจมาณวิกาจึงมากล่าวตู่เรา ด้วยคำไม่จริงท่ามกลางหมู่ชน 
มีเรื่องกล่าวไว้ว่า สมัยนั้น ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าเป็นอันมาก ฝ่ายพวกเดียรถีย์ลดน้อยลง ราวกับแสงหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น พวกเดียรถีย์จึงประชุมตกลงกัน ออกอุบายให้นางจิญจมาณวิกาปริพพาชิกา ผู้มีรูปงามคนหนึ่งทำลายพระพุทธเจ้า นางจิญจมาณวิกาได้ทำทีเป็นเดินเข้า-ออกในเวลาเช้าตรู่และเวลาเย็น ทำให้พวกอุบาสกผู้ไปฟังธรรมสงสัย นางบอกว่า ได้อยู่ร่วมในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดม ยิ่งทำให้คนพวกนั้นสงสัยขึ้นอีก 
ต่อมา นางได้เอาผ้าพันท้อง ทำเป็นคล้ายคนมีท้องได้ ๘-๙ เดือนจวนจะคลอด เมื่อพระพุทธเจ้ากำลังประทับนั่งแสดงธรรมอยู่บนธรรมาสน์นั่นเองได้ไปสู่ธรรมสภา ทูลพระองค์ว่า มหาสมณะ พระองค์ดีแต่พูดเท่านั้น เสียงพระองค์ไพเราะ พระโอษฐ์ของพระองค์สนิท ส่วนหม่อมฉันอาศัยพระองค์ได้เกิดมีครรภ์ครบกำหนดแล้ว พระองค์ไม่ทรงทราบที่คลอดของหม่อมฉัน ไม่ทรงทราบเครื่องบริหารครรภ์แก่หม่อมฉัน เมื่อไม่ทรงทำเอง ก็ไม่ตรัสบอกพระเจ้าโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือนางวิสาขามหาอุบาสิกา คนใดคนหนึ่ง แล้วด่าพระพุทธเจ้าต่าง ๆ นานาในท่ามกลางบริษัท 
ฝ่ายท้าวสักกะ เมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น จึงสั่งให้เทพบุตร ๒ องค์โดยให้แปลงเป็นหนู และแปลงเป็นลม มาทำลายพิธีของนาง กัดเชือกที่ผูกท่อนไม้ไว้ และลมพัดเลิกผ้าห่มขึ้น ไม้กลมพลัดตกลงบนหลังเท้าของนาง ปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างแตก มนุษย์ทั้งหลายก็พูดว่า นางกาฬกัณณี เจ้าด่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ่มเขฬะลงบนศีรษะ ขับออกจากวิหาร นางวิ่งเตลิดเปิดเปิงไป พอล่วงคลองพระจักษุของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ก็ถูกแผ่นดินสูบตกไปเกิดในอเวจีมหานรก ลาภสักการะของพวกเดียรถีย์เสื่อมลงอีก แต่ของพระทศพลยิ่งเจริญขึ้น 

๕. เรื่อง กล่าวว่าร้ายผู้ทรงศีล จึงทำให้ถูกใส่ร้าย 
คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๕ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า 
เราเกิดเป็นพราหมณ์ ผู้มีสุตะ มีประชาชนสักการะบูชา ได้สอนมนตร์ให้มาณพประมาณ ๕๐๐ คน ในป่าใหญ่ ได้เห็นฤาษีผู้น่าเกรงกลัว ผู้ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก มายังสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤาษี ผู้ไม่ประทุษร้ายใคร โดยบอกลูกศิษย์ว่า ฤาษีผู้นี้มักบริโภคกามคุณ เพียงเราบอกเท่านั้น พวกมาณพก็พลอยเชื่อ ตั้งแต่นั้นมา ครั้นไปเที่ยวหาอาหารในตระกูลทั้งหลาย พากันบอกประชาชนว่า ฤาษีตนนี้มักบริโภคกามคุณ ด้วยผลกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ได้รับการกล่าวตู่ เพราะนางสุนทรี เป็นเหตุ 
มีเรื่องกล่าวไว้ว่า พวกมิจฉาทิฏฐิผู้ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้ติดตามพระพุทธเจ้าผู้เสด็จเข้าไปภายในพระนครได้ด่าบริภาษด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ ว่า เจ้าเป็นโจร เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นอูฐ เป็นโค เป็นฬา เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ไม่มีหวังจะได้สุคติ ทุคติเท่านั้น ที่เจ้าควรหวัง 
ท่านพระอานนท์สดับคำนั้นแล้วได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกชาวเมืองได้ด่าบริภาษพวกเรา พวกเราจะไปที่อื่นจากเมืองนี้เถิด พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า จะไปที่ไหน เมื่อถูกด่าที่นั่นอีก จะทำอย่างไร พระอานนท์กราบทูลว่า จะไปเมืองอื่นอีก เมื่อถูกด่าที่นั่นอีกก็หนีไปเรื่อย ๆ พระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า การทำอย่างนั้น ไม่สมควร เมื่ออธิกรณ์เกิดขึ้นในที่ใด ต้องสงบในที่นั้นเสียก่อน จึงสมควรไปที่อื่น แล้วตรัสถามต่อไปว่า พวกไหนเล่าด่าพวกเรา 
อานนท์กราบทูลว่า คนทั้งหมดกระทั่งทาสและกรรมกรก็พากันด่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า อานนท์ เราเป็นเหมือนกับช้างที่เข้าสู่สงคราม การอดทนต่อคำพูดของคนไม่มีศีล มีจำนวนมากเป็นภาระของเรา เช่นเดียวกันกับการอดทนต่อลูกศรที่แล่นมาจกทิศ เป็นภาระของช้างที่เข้าสู่สงคราม 
๖. เรื่อง ทรัพย์เป็นเหตุ ทำให้พี่ฆ่าน้อง 
คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๖ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า 
ในชาติก่อน เราได้ฆ่าน้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่งทรัพย์ จับโยนลงซอกภูเขาแล้วโยนหินทับไว้ ด้วยผลกรรมนั้น พระเทวทัตจึงผลักก้อนหินกลิ้งลงมา สะเก็ดหินกระทบนิ้วหัวแม่เท้าของเราจนห้อเลือด 
เรื่องนี้ มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า ครั้งที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงโกสัมพี พระเทวทัตถูกความมักใหญ่ครอบงำจิต ชักจูงให้อชาตศัตรูกุมารเลื่อมใสในฤทธิ์ของตน คิดจะขอพระพุทธเจ้าปกครองภิกษุสงฆ์ พระเทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์ พร้อมกับความคิดนั้น ต่อมา ถูกสงฆ์ทำปกาสนียกรรม จึงไปยุยงให้อชาตศัตรูกุมารปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นชนก ส่วนตนเองได้ส่งคนไปลอบปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค แต่คนเหล่านั้นกลับเลื่อมใสในพระองค์ ได้ฟังอนุปุพพีกถาสำเร็จโสดาปัตติผลทุกคน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่ร่มเงาภูเขาคิชฌกูฏ ทีนั้น พระเทวทัตขึ้นภูเขาคิชฌกูฏกลิ้งศิลาก้อนใหญ่ ด้วยหมายใจว่า เราจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคด้วยก้อนศิลา ยอดภูเขา ๒ ข้างมาบรรจบกันรับศิลาก้อนนั้นไว้ สะเก็ดศิลากระเด็นจากก้อนศิลานั้นไปกระทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคจนพระโลหิตห้อขึ้น ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแหงนพระพักตร์ ได้ตรัสว่า โมฆบุรุษ เธอสั่งสมสิ่งที่มิใช่บุญไว้มากที่มีจิตคิดร้าย คิดฆ่าทำโลหิตของตถาคตให้ห้อ แล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า เทวทัตทำโลหิตของตถาคตให้ห้อ ได้ทำอนันตริยกรรมแล้ว 
๗. เรื่อง เคยแกล้งพระไว้ จึงได้รับการแกล้งตอบ 
คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๗ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า 
ในชาติก่อน เรายังเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่ ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ากำลังเดินทางมา ณ ทางนั้น จึงได้หว่านก้อนกรวดไว้ที่หนทาง ด้วยผลกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ พระเทวทัต จึงชักชวนนักแม่นธนู ผู้เป็นนักฆ่า เพื่อฆ่าเรา 
เรื่องนี้ มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า ณ กรุงราชคฤห์ หลังจากพระเทวทัตไปถวายพระพรให้พระเจ้าอชาตศัตรูกุมารส่งราชบุรุษไปปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าแล้ว ต่อมา พระเทวทัตก็สั่งบุรุษคนหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่โน้น ท่านจงไปปลงพระชนม์พระองค์แล้วกลับมาทางนี้ แล้วซุ่มบุรุษไว้ริมทาง ๒ คนด้วยสั่งว่า พวกท่านจงฆ่าคนที่เดินมาทางนี้ เพียงลำพังแล้วมาทางนี้ ซุ่มบุรุษไว้ริมทางอีก ๔, ๘, ๑๖ คน ด้วยสั่งว่า พวกท่านจงฆ่าคนพวกนี้ ที่เดินมาทางนี้ ๆ ต่อมา บุรุษคนหนึ่งนั้น ถือดาบและโล่ห์สะพายธนูเข้าหาประชิดตัวพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วก็ยืนกลัวจนตัวแข็งทื่อไม่ห่างจากพระผู้มีพระภาค 
พระองค์จึงตรัสว่า อย่ากลัวเลย พอบุรุษนั้นได้ฟังพระดำรัสเช่นนั้นแล้ว ได้วางดาบและโล่ห์ ปลดธนูวางไว้ แล้วซบศีรษะแทบพระยุคลบาทกราบทูลว่า กระผมทำความผิดเพราะความโง่เขลา ที่มีจิตคิดประทุษร้ายคิดจะปลงพระชนม์จึงเข้ามาที่นี้ ขอพระองค์โปรดประทานอภัยโทษแก่กระผม เพื่อความสำรวมต่อไป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่เป็นไร การที่บุคคลเห็นความผิดเป็นความผิดแล้ว แก้ไขให้ถูกต้อง นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย แล้วตรัสอนุปุพพีกถาให้บุรุษนั้นฟัง จนบุรุษได้บรรลุเป็นโสดาบัน แล้วตรัสกับบุรุษนั้นว่า ท่านอย่าไปทางนั้น จงไปทางนี้ แล้วส่งเขาไปทางอื่น 
ต่อมาบุรุษอีก ๒ คนปรึกษากันว่า ทำไม บุรุษคนนั้น จึงมาชักช้านักแล้วเดินสวนทางไป ได้พบพระผู้มีพระภาค ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง แล้วเข้าไปสนทนาด้วย พระผู้มีพระภาคได้แสดงธรรมให้ฟังจนบุรุษทั้ง๒ ได้บรรลุเป็นโสดาบัน แม้บุรุษ ๔, ๘ และ ๑๖ ก็มีนัยเดียวกันแล ต่อมา บุรุษคนแรกนั้น ได้ไปหาพระเทวทัตแล้วพูดว่า กระผมไม่สามารถปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคได้ พระองค์มีฤทธิ์มาก พอพระเทวทัตได้ฟังเช่นนั้นพูดตัดบทว่า ไม่เป็นไร ท่านอย่าได้ฆ่าเลย เราจะลงมือปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าเอง 
๘. เรื่อง ควาญช้างไสช้างไล่พระ 
คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๘ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า 
ในชาติก่อน เราเมื่อครั้งเกิดเป็นนายควาญช้าง ได้ไสช้างไล่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นพระมุนีสูงสุด ที่กำลังเที่ยวบิณฑบาต ด้วยผลกรรมนั้น ช้างนาฬาคีรีเชือกดุร้าย จึงวิ่งไล่เราในกรุงราชคฤห์อันประเสริฐ 
เรื่องนี้ มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า หลังจากที่พระเทวทัตลอบปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคหลายครั้งแล้ว แต่ไม่สำเร็จเลย ก็หาได้หยุดการกระทำเช่นนั้นไม่ สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีช้างชื่อนาฬาคีรีดุร้าย ชอบฆ่าคน ต่อมาพระเทวทัตได้ไปที่โรงช้าง แล้วอ้างเหตุผลกับนายควาญช้างว่า พวกเราเป็นพระญาติของพระราชา สามารถจะแต่งตั้งผู้อยู่ในตำแหน่งต่ำไว้ในตำแหน่งสูง และเพิ่มเงินเดือนให้ได้ ทำอย่างนี้ เวลาพระพุทธเจ้าเสด็จมาทางตรอกนี้ พวกท่านจงปล่อยช้างนาฬาคีรีนี้เข้าไป 
เมื่อพระผู้พระภาคเสด็จดำเนินถึงตรอกนั้น พวกนายควาญช้างจึงได้ปล่อยนาฬาคีรีไปปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค ช้างนาฬาคีรีได้ชูงวงหูชัน หางชี้ วิ่งตรงไปที่พระผู้มีพระภาค เวลานั้นคนทั้งหลายหนีขึ้นไปบนปราสาทนั้นบ้าง เรือนโล้นบ้าง บนหลังคาบ้าง พวกที่ไม่ศรัทธาพูดว่า พระสมณโคดมจะถูกช้างฆ่า ส่วนผู้มีศรัทธาก็พูดว่า ประเดี๋ยวจะคอยดูสงครามระหว่างพระพุทธเจ้ากับช้าง ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแผ่เมตตาจิตไปที่ช้างนาฬาคีรี ช้างนาฬาคีรีได้สัมผัสกระแสเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาค จึงหมดพยศยืนอยู่ตรงพระพักตร์ แล้วพระผู้มีพระภาคทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบกระพองช้างนาฬาคีรี 
๙. เรื่อง เคยเป็นทหารรับจ้าง จึงได้รับความทรมาน 
คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๙ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า 
ในชาติก่อน เราเมื่อครั้งเกิดเป็นทหารรับจ้าง ได้ใช้หอกฆ่าคนจำนวนมาก ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงถูกไฟไหม้อย่างร้อนแรงในนรก ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่ เพราะกรรมยังไม่สิ้นไป ในบัดนี้ ไฟ (ความร้อน) นั้นยังตามมาไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราทุกแห่ง 
เรื่องนี้ มีกล่าวขยายความไว้ในชาดกว่า เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์ เกิดเป็นคนรักษาป่า มีบริวาร ๕๐๐ คน ได้รับจ้างคุ้มครองพวกพ่อค้าเกวียน ให้ข้ามดงที่มีโจรผู้ร้ายซุ่มอยู่ด้วยความกล้าหาญตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ บุตรชายพ่อค้าเห็นความกล้าหาญของโพธิสัตว์จึงถามว่า 
เมื่อความตายปรากฏอยู่ตรงหน้า เพราเห็นพวกโจรยิงลูกธนูที่แหลมคมเข้ามาด้วยความว่องไว และยังถือดาบอันคมกริบวิ่งเข้ามาอีก เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่สะดุ้งกลัว พระโพธิสัตว์บอกว่า เวลาที่เห็นโจรร้ายวิ่งเข้ามา ข้าพเจ้ากลับมีความยินดีที่จะได้ย่ำยีศัตรู เพราะก่อนที่จะมาทำหน้าที่นี้ 
ได้ยอมสละชีวิตไว้แล้ว จึงไม่มีความอาลัยในชีวิต สามารถทำกิจของตนได้อย่างกล้าหาญทุกเวลา 
เรื่องนี้ มีกล่าวไว้ว่า หลังจากที่พระเทวทัตทำพระโลหิตของพระผู้มีพระภาคให้ห้อแล้ว แล้วพระผู้มีพระภาคเสด็จไปชีวกัมพวันให้หมอชีวกรักษา หมอชีวกได้รักษาโดยปรุงยาอย่างแรงกล้าเพื่อสมานแผลแล้ว ปิดแผล แล้วกราบทูลว่า กระผมมีธุระในเมือง ขอให้ยานี้อยู่จนกว่ากระผมจะกลับมา แล้วหมอชีวกก็เข้าเมืองไป แต่กลับมาไม่ทันประตูเมืองเพราะประตูปิดก่อน แล้วก็นึกตกใจว่า ถึงเวลาที่จะเอายาออกแล้ว ถ้าไม่เอายาออกล่ะก็ พระผู้มีพระภาคก็จะเกิดความเร่าร้อนในสรีระตลอดทั้งคืนเป็นแน่ ต่อมา พระผู้มีพระภาค ได้รับสั่งให้พระอานนท์นำยาที่ปิดแผลนั้นออกในตอนค่ำนั่นเอง 
๑๐. เรื่อง เด็กเล็กเห็นปลาถูกฆ่า แล้ว แต่ดีใจ 
คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑๐ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า 
ในชาติก่อน เราเมื่อครั้งเกิดเป็นเด็กเล็กลูกของชาวประมง อาศัยอยู่ในเกวัฏฏคาม เห็นชาวประมงฆ่าปลาแล้ว เกิดความโสมนัส ด้วยเจตนาที่เป็นอกุศลกรรมนั้น จึงทำให้ไปเสวยทุกข์ในอบายทั้ง ๔ ด้วยเศษแห่งผลบาปกรรมนั้น เราจึงปวดศีรษะ เมื่อพวกเจ้าศากยะถูกที่พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่าตายเป็นจำนวนมาก 
๑๑. เรื่อง ด่า แช่งผู้อื่นไว้อย่างไร ก็ได้รับผลอย่างนั้น 
คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑๑ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า 
เราเมื่อครั้งเกิดเป็นคนสามัญ ได้ด่า แช่งเหล่าสาวกในศาสนาของพุทธเจ้า พระนามว่าผุสสะด้วยคำว่า ท่านทั้งหลายจงขบเคี้ยว จงฉันแต่ข้าวเหนียว อย่าได้ฉันข้าวสาลีเลย ด้วยผลกรรมนั้น เรารับนิมนต์พราหมณ์ อยู่จำพรรษา ณ เมืองเวรัญชา ได้ฉันแต่ข้าวเหนียว ตลอด ๓ เดือน 
เรื่องนี้ มีกล่าวไว้ว่า หลังจากที่พระพุทธองค์รับคำของเวรัญชพราหมณ์ว่าจะอยู่จำพรรษาแล้ว สมัยนั้นเมืองเวรัญชาเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ ต่อมา พวกพ่อค้าม้าชาวเมืองอุตตราบถ มีม้าอยู่ประมาณ ๕๐๐ ตัว เข้าพักแรมช่วงฤดูฝนในเมืองเวรัญชา พวกเขาตระเตรียมข้าวนึ่ง (ข้าวสารเหนียวที่เอาแกลบออกแล้วนึ่งเก็บไว้ จะเรียกว่าข้าวตาก ก็ได้ พวกพ่อค้านิยมนำติดตัวไป ในเวลาเดินทางไปค้าขายยังต่างเมือง เพื่อเป็นอาหารม้าในถิ่นที่อาหารม้าหายาก) เพื่อถวายพระภิกษุรูปละประมาณ ๑ ทะนานไว้ที่คอกม้า รุ่งเช้า ภิกษุทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรไปบิณฑบาตในเมืองเวรัญชา บิณฑบาตไม่ได้เลย จึงไปที่คอกม้า รับข้าวนึ่งรูปละประมาณ ๑ ทะนาน นำไปตำให้ละเอียดแล้วฉัน ส่วนพระอานนท์บดข้าวนึ่งประมาณ ๑ ทะนานบนหินบดแล้ว น้อมเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาค พระองค์เสวยข้าวนั้น 
๑๒. เรื่อง เคยเป็นนักมวยปล้ำ หักหลังผู้อื่นไว้ 
คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑๒ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า 
ในชาติก่อน เราเมื่อครั้งเกิดเป็นนักมวย ได้ทำการชกกับนักมวยผู้อื่น ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงเกิดความทุกข์ที่สันหลัง (ปวดหลัง) 
เรื่องนี้ มีกล่าวไว้ว่า คราวหนึ่งพระโพธิสัตว์ เกิดในตระกูลคหบดี มีกำลังมากมหาศาล แต่ตัวเตี้ย ต่อมามีนักมวยปล้ำต่างถิ่นมาท้าต่อสู้ และทำให้บุรุษหลายคนในหมู่บ้าน ถูกทำร้ายบาดเจ็บและพ่ายแพ้ และเมื่อพระโพธิสัตว์พบเหตุการณ์นั้น จึงขออาสาต่อสู้ด้วย พอได้ฟังคำพูดเช่นนี้ นักมวยปล้ำผู้นั้นได้พูดดูถูกต่าง ๆ นานา และเมื่อทั้งสองได้ต่อสู้กัน พระโพธิสัตว์แม้ถึงจะตัวเตี้ย แต่ก็ได้จับนักปล้ำผู้นั้นขึ้นแล้วหมุนไปในอากาศ แล้วทุ่มลงภาคพื้น แล้วจับดัดหลัง จนนักปล้ำผู้นั้น กระดูกหักเจ็บปวดอย่างมาก และยอมแพ้ในที่สุด แล้วพระโพธิสัตว์สั่งสอนว่า อย่ามาทำอย่างนี้อีกในหมู่บ้านนี้ ด้วยกรรมนั้น เราได้เสวยผลกรรมมีโรคประจำเช่นปวดหลังเป็นต้น แม้ในชาตินี้ ถึงเราจะทรงพลังอย่างนับไม่ได้ แต่ก็ยังเป็นโรคปวดหลังอยู่ 
๑๓. เรื่อง หมอรักษาโรค แต่ประมาท 
คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑๓ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า 
ในชาติก่อน เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้ลูกชายเศรษฐี (ถึงแก่ความตาย) ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงป่วยเป็นโรคปักขันทิกาพาธ 
เรื่องนี้ มีกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคหบดี ได้เป็นหมอรักษาคนไข้ คราวหนึ่ง ได้รักษาลูกเศรษฐีคนหนึ่ง ตรวจโรคแล้ว จัดยารักษาโรคชนิดนั้น แต่เพราะความประมาท ตอนจ่ายยานั้น ได้จ่ายยารักษาโรคต่างชนิดกันให้ไป ทำให้ลูกเศรษฐีนั้นรับประทานยาไปแล้วถ่ายอย่างรุนแรง 
ตรงนี้ มีกล่าวขยายความไว้ว่า ในชาตินี้ ในสมัยเป็นที่ปรินิพพาน หลังจากพระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารที่ชื่อว่าสุกรมัททวะ ของนายจุนทกัมมารบุตรแล้ว ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรงลงพระบังคนหนักเป็นโลหิต ทรงมีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัสจวนเจียนจะปรินิพพาน แต่ทรงใช้สติสัมปชัญญะข่มทุกขเวทนาเหล่านั้นอย่างไม่พรั่นพรึง 
๑๔. เรื่อง สบประมาทผู้อื่น จึงต้องประสบทุกข์ 
คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑๔ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า 
เราเมื่อครั้งเกิดเป็นมาณพ ชื่อโชติปาละ ได้กล่าวประสบประมาทพระกัสสปพุทธเจ้าว่า การตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ์จักมีมาแต่ที่ไหน การตรัสรู้หาได้แสนยาก ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงได้บำเพ็ญทุกรกิริยานานถึง ๖ ปี แต่ว่า เราก็มิได้บรรลุพระโพธิญาณที่สูงสุด ด้วยทางนี้ ต่อมา จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ ที่ตำบลอุรุเวลา เราถูกกรรมในปางก่อนตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณผิดทาง เราสิ้นบาปสิ้นบุญแล้ว ปราศจากความเร่าร้อนทุกอย่าง ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีอาสวะ จักปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้ทรงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวง ทรงพยากรณ์บุพกรรมเช่นนี้ มุ่งหวังประโยชน์สำหรับหมู่ภิกษุ ณ สระอโนดาต ด้วยประการฉะนี้แล 
ตรงนี้ มีเนื้อความกล่าวไว้ว่า หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถโพธิสัตว์ ทรงครองฆราวาสอยู่ ๒๙ ปี ทรงเห็นนิมิต ๔ ทำความสังเวชให้เกิดขึ้น ขึ้นม้ากัณฐกะพร้อมกับนายฉันนะออกไป ทรงรับสมณบริขารที่มหาพรหมถวาย แล้วผนวชที่ริ่มฝั่งแม่น้ำอโนมานทีบำเพ็ญเพียรประพฤติทุกรกิริยาอย่างหนักอยู่ ๖ ปี อาทิเช่น กดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร้าร้อน เมื่อทำเช่นนั้น เหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง กลั้นลมหายใจเข้า-ออกทั้งทางปาก-จมูก ทำให้ลมออกทางหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ ๆ และเกิดลมแรงกล้าเสียดแทงศีรษะ ทำให้เกิดทุกขเวทนาในศีรษะอย่างแรงกล้า ทำให้เกิดลมอันแรงกล้าบาดในช่องท้อง 
เมื่อพระองค์ประพฤติตนเช่นนี้แล้ว ทำให้เกิดความกระวนกระวายในร่างกายอย่างแรงกล้า ทำให้เกิดกายกระสับกระส่ายไม่สงบ ต่อมาก็ลดอาหารที่ละน้อย จนฉันอาหารประมาณเท่าเมล็ดถั่วพูและเมล็ดบัว จึงทำให้ร่างกายซูบผอมมาก เดินไปไหนก็ซวนเซล้มลง ณ ที่นั้น จนชนทั้งหลายเห็นแล้ว พากันทักต่าง ๆ นานา ทำให้ได้คิด จึงเปลี่ยนวิธีปฏิบัติเสียใหม่ กลับมาฉันอาหารตามเดิม แล้วปฏิบัติฌาน ๔ และวิชชา ๓ จึงตรัสรู้พระพุทธเจ้า (จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ) ภายใต้ต้นโพธิ 
เรื่องบุพกรรมของพระพุทธองค์ดังที่กล่าวมานี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่ว่าเป็นผู้มีพระคุณมากมายปานใด เช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือแม้แต่พระคุณน้อยนิดเช่น เด็กน้อยเดียงสาแกล้งผู้อื่นก็ตาม ผู้ที่ได้กระทำบุญหรือบาปไว้ ย่อมจะต้องได้รับผลของกรรมนั้น ๆ อย่างแน่นอน ตราบที่ยังเวียนว่ายตายเกิด ยังไม่สิ้นอาสวะกิเลส หรือแม้แต่สิ้นอาสวะกิเลส ยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่ปรินิพพานก็ย่อมได้รับผลของกรรมเช่นเดียวกัน ซึ่งตรงกับเนื้อความกล่าวรับรองไว้ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใด เป็นบุญหรือเป็นบาปก็ตาม เราจะต้องรับผลของกรรมนั้น 
ท้ายนี้ ฝากคติธรรมว่า เวรกรรมที่แต่ละคนได้กระทำไว้นั้น อย่าคิดประมาทว่าเป็นกรรมเล็กน้อยและจักไม่ให้ผล กรรมที่กระทำไว้นั้นรอวันให้ผลทั้งนั้น แต่จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับว่ากรรมนั้นหนักหรือเบานั่นเอง สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านจงโชคดีและมีความสุขทุกเมื่อเทอญ. 

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทำความเข้าใจ...พระไตรปิฎก...เบื้องต้นขั้นพื้นฐาน.......

- วินัยปิฎก ควบคุมพฤติกรรมทางกายกับวาจาให้อยู่..ให้เข้ากับสังคงได้อย่างลงตัว...ไม่ว่าท่านเป็นใคร....ก็ต้องรักษาตามระดับศีลของตนๆ

- พระสุตตันตปิฎก(พระสูตร) อย่าลืมว่า...พระพุทธเจ้าทรงแสดงส่วนใหญ่เฉพาะเจาะจงบุคคลให้บรรลุในพระธรรมนั้นๆ พระสัพพัญญุตญาณ...รู้ว่าบุคคลนั้นๆสั่งสมกรรมมาในทิศทางใด..ทรงแสดงธรรมนั้นเฉพราะบุคคลนั้นๆ ผลก็คือได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุไป...

แต่..เรานำพระสูตรมาใช้กันในลักษณะใดแบบใด...เช่น เกสปุตตสูตร ที่เราชอบพูดกันว่า...กาลามสูตรๆ ที่พระพุทธเจ้าเสร็จไปแสดงธรรมโปรดชาวกาลามนิคมหรือกาลามโคตร...เพราะเขามีความเห็นว่า..ใครๆมาแสดงธรรมก็ล้วนแต่พูดแต่ของตนถูกต้องของคนอื่นผิดหมดใช้ไม่ได้...พระพุทธเจ้าทรงแสดงฉีกแนวความคิดนั้น...ลงอย่างสิ้นเชิงด้วยการทรงชี้หลักความเชื่อ 10 ประการนั้น...แต่เราเอามาใช้กันอย่างไร..ใครที่ไม่มีหลัก...หลักหลวม..หลักลอย..หลักหลุด..หลุดหลัก...ว่า.....ท่านต้องมีหลักความเชื่อที่พระพุทธเจ้าทรงชี้แบบนี้นะ..โดยไม่รู้เลยว่าคนนั้นเขารู้จักพระพุทธเจ้าหรือเปล่า...ทำความเคารพ..ศรัทธาในใจอย่างไร.....ผลออกมาคืออะไร? ขัดแย้งกัน...บางทีบางที่่...บางคน...รุนแรง...นอกจะไม่บรรลุแล้วยังลุโทสะอีกด้วย...

จำไว้..พระสูตรพระพุทธเจ้าทรงแสดงไปตามอัธยาศัยการสั่งสมต่างกัน..ไม่เท่ากัน...ไม่ได้แสดงทั่วๆไป...สังเกต..พระพุทธเจ้าเคยไปแสดงสูตรนี้ซ้ำอีกไหม?..ที่ไหน?...กับใคร?...
เราเวลาเรียนรู้ศึกษาเอาไป...ต้องคัดสรรด้วยใจตนเองว่า...นิสัย อุปนิสัย วาสนาของตนๆ จริต(ชอบประพฤติ)ในทางใดมาเลือกน้อมนำพระสูตรนั้นไป...ที่คิดว่าเข้ากับเราได้...บางคนตนเองยังไม่เข้าใจเลือกให้ตนเอง...แถมชอบไปเลือกยัดเยียดให้คนอื่น...หลับตานึกภาพสิเป็นยังไง? แต่การแสดงธรรมไปตามหน้าที่..แต่เราก็ไม่ได้บังคับใครนี่ว่า...จะต้องถืออย่างนี้อย่างนั้น...แสดงเพื่อชี้ให้เขาเห็น...ให้เขาเข้าใจแล้วน้อมนำไปเองด้วยสติ-ปัญญาของเขา...พระสูตรจึงเป็นสิ่งที่ทุกๆคนต้อง...เรียนศึกษาให้เข้าใจแล้วน้อมนำไปเอง...ที่ซวยตอนนี้ก็คือ...ไม่มีพระพุทธเจ้าทรงรองรับ..ยืนยันด้วยพระพัญญุตญาณ(พระปรีชาหยั่งรู้ทุกสรรสิ่งทั้งปวงในอนันตจักรวาลที่นับประมาณไม่ได้)...เราเหมือนต้องลองผิดลองถูกกันเอง...แต่พระสูตรทุกๆพระสูตรพาเข้า.....

- พระอภิธรรมปิฎก กุศล อกุศล ที่ทุกๆท่าน...จะได้รับตอบแทนจากการ...คิด..พูด..ทำ...นั้น

อัพยากต...สภาวะพระอรหันต์คงไม่ต้องพูดถึง...เป็นหลัก......องค์ดำ.https://www.facebook.com/profile.php?id=100004752543663&hc_location=timeline
วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเห็นแจ้ง
วิปัสสนา แปลว่าตามใจความว่า การคิดอย่างชาญฉลาด มีปัญญา เกี่ยวกับสังขารธรรมอย่างละเอียดโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อคิดทำความเข้าใจเรื่องรูปขันธ์จนแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยญาตปริญญาแล้ว ก็คิดถึงรูปขันธ์โดยใช้ลักษณะที่ไม่เที่ยงของรูปขันธ์ว่า "รูปขันธ์ไม่เที่ยง เพราะปกติแล้วรูปขันธ์ ต้องสิ้นไป หมดไป ทำลายไป. ก็ดูซิ รูปขันธ์ในชาติที่แล้ว ก็หมดไปในชาติที่แล้ว ไม่มาถึงชาตินี้, และในชาตินี้ก็จะไม่ไปถึงชาติหน้า ทั้งหมดล้วนต้องหมดไป สิ้นไป แตกทำลายไป ในชาตินั้นๆ นั่นเอง เป็นต้น, ต้องเปรียบเทียบเช่นนี้ ต่อไปอีก เช่น จากแยกเป็นชาติ ก็แยกเป็น 3 ช่วงอายุ เป็น 10, 20, 25, 50,..เรื่อยไปจนแยกเป็นชั่วเวลาที่ยกเท้า ก้าวเท้า เบี่ยงเท้าเปลี่ยนทิศ วางเท้าลง เท้าแตะถึงพื้น จนกดเท้านี้ลงให้มั่นเพื่อยกเท้าอีกข้างให้ก้าวต่อไป ทั้งหมดก็จบลงไปในช่วงนั้น ๆ นั่นเอง รูปขันธ์ตอนยกก็อย่างหนึ่ง หมดไปแล้ว รูปขันธ์ตอนก้าวเท้าจึงเกิดขึ้นใหม่ แล้วก็ดับไปอีก" เป็นต้น. การใคร่ครวญอย่างนี้ยิ่งละเอียดขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้ปัญญาเจริญดีเท่านั้น.
อนึ่ง. ลักษณะต่าง ๆ นานา ที่ว่านั้น ท่านเรียกว่า ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ลักษณะที่เป็นทุกข์ และลักษณะที่เป็นอนัตตา. ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านระบุไว้ว่า "ขึ้นชื่อว่า ลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นนวัตตัพพธรรม" ในพระไตรปิฎกหลายที่ก็กล่าวไตรลักษณ์ไว้หลายชื่อ เช่น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นจัญไร เป็นต้น. และในคัมภีร์ 2 แห่ง ก็ระบุให้ไตรลักษณ์เป็นตัชชาบัญญัติ. แต่ว่าโดยตรงแล้วไตรลักษณ์จะไม่ใช่คำพูด หรือ ศัพท์บัญญัติ คงเป็นอาการของขันธ์นั่นเอง ที่ไม่ใช่ปรมัตถ์ก็เพราะไม่สามารถจัดเข้าในสภาวธรรม 72 ข้อใดได้เลย เหมือนอิริยาบถมีการ นั่ง เดิน ยืน นอน และ แลเหลียว เหยียด คู้ เป็นต้นที่ไม่มีสภาวะเช่นกัน.
ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นการใช้ทั้งปรมัตถ์ (คือสิ่งที่มีอยู่จริง) และ บัญญัติ (คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทั้งที่เป็นอาการของปรมัตถ์และชื่อเรียกต่างๆ) มากำหนดขันธ์เป็นต้น.
ปรมัตถ์ที่ใช้กำหนดวิปัสสนานั้นท่านเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะหรือเรียกว่า วิเสสลักษณะ, ลักขณาทิจตุกกะก็ได้ เช่น ลักษณะที่มาประจัญหน้ากันของอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะ คือ เป็นเครื่องหมายบ่งให้สังเกตรู้ได้ว่าเป็นปรมัตถ์แต่ละอย่างไม่ปะปนกัน สามารถกำหนดได้ว่า "สิ่งนี้คือผัสสะ" เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นญาตปริญญา และแม้โดยทั่วไปท่านจะยังไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง แต่หากจะอนุโลมเอาก็ไม่ผิดอะไร เพราะก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการทำวิปัสสนา.
ส่วนการใช้ สามัญญลักษณะ หรือเรียกว่า ไตรลักษณ์ เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร เป็นต้น มากำหนดปรมัตถ์ เช่น รูปขันธ์เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นตีรณปริญญาและปหานปริญญา และทั่วไปท่านจะจัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง เพราะมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติตามเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในโลกิยขันธ์ให้ได้.
การปฏิบัติทั้งหมดในคัมภีร์ท่านมักเน้นย้ำว่าจะต้องมีพื้นฐานเหล่านี้ คือ
  1. อุคคหะ การเรียนพระธรรม
  2. ปริปุจฉา การสอบสวนทวนถามทำความเข้าใจในอรรถะของพระธรรมให้ชัดเจน
  3. ธาตา การทรงจำพระธรรมได้
  4. วจสาปริจิตา สวดท่องจนมีความคล่องแคล่วชำนาญคล่องปาก
  5. มนสานุเปกขิตา ใคร่ครวญค้นคิดตรวจสอบจนขึ้นใจเข้าใจ
  6. ปฏิปัตติ หมั่นเอาพระธรรมมาใช้ในชีวิตจนสามารถจะเห็นอะไรๆ เป็นพระธรรมได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติศีลและสมาธิที่ต้องใช้จนระงับกิเลสได้ถึงระดับหนึ่ง จึงจะทำวิปัสสนาได้
พื้นฐานเหล่านี้ ในพระไตรปิฎกบางแห่ง พระพุทธองค์ถึงกับกล่าวให้คนที่ไม่ทำตามลำดับ ตามขั้นตอนพื้นฐานให้เป็น "โมฆบุรุษ" เลยทีเดียว ซึ่งคำนี้ถือว่าเป็นคำตำหนิที่รุนแรงมากในสมัยนั้น.
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2
วิปัสสนา แปลว่าตามศัพท์ว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเห็นแจ้ง วิปัสสนา แปลว่าตามใจความว่า การคิดอย่างชาญฉลาด มีปัญญา เกี่ยวกับสังขารธรรมอย่างละเอียดโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อคิดทำความเข้าใจเรื่องรูปขันธ์จนแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยญาตปริญญาแล้ว ก็คิดถึงรูปขันธ์โดยใช้ลักษณะที่ไม่เที่ยงของรูปขันธ์ว่า "รูปขันธ์ไม่เที่ยง เพราะปกติแล้วรูปขันธ์ ต้องสิ้นไป หมดไป ทำลายไป. ก็ดูซิ รูปขันธ์ในชาติที่แล้ว ก็หมดไปในชาติที่แล้ว ไม่มาถึงชาตินี้, และในชาตินี้ก็จะไม่ไปถึงชาติหน้า ทั้งหมดล้วนต้องหมดไป สิ้นไป แตกทำลายไป ในชาตินั้นๆ นั่นเอง เป็นต้น, ต้องเปรียบเทียบเช่นนี้ ต่อไปอีก เช่น จากแยกเป็นชาติ ก็แยกเป็น 3 ช่วงอายุ เป็น 10, 20, 25, 50,..เรื่อยไปจนแยกเป็นชั่วเวลาที่ยกเท้า ก้าวเท้า เบี่ยงเท้าเปลี่ยนทิศ วางเท้าลง เท้าแตะถึงพื้น จนกดเท้านี้ลงให้มั่นเพื่อยกเท้าอีกข้างให้ก้าวต่อไป ทั้งหมดก็จบลงไปในช่วงนั้น ๆ นั่นเอง รูปขันธ์ตอนยกก็อย่างหนึ่ง หมดไปแล้ว รูปขันธ์ตอนก้าวเท้าจึงเกิดขึ้นใหม่ แล้วก็ดับไปอีก" เป็นต้น. การใคร่ครวญอย่างนี้ยิ่งละเอียดขึ้นเท่าไหร่ยิ่งทำให้ปัญญาเจริญดีเท่านั้น. อนึ่ง. ลักษณะต่าง ๆ นานา ที่ว่านั้น ท่านเรียกว่า ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง คือ ลักษณะที่ไม่เที่ยง ลักษณะที่เป็นทุกข์ และลักษณะที่เป็นอนัตตา. ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาท่านระบุไว้ว่า "ขึ้นชื่อว่า ลักษณะ มีคติเป็นบัญญัติ เป็นนวัตตัพพธรรม" ในพระไตรปิฎกหลายที่ก็กล่าวไตรลักษณ์ไว้หลายชื่อ เช่น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นจัญไร เป็นต้น. และในคัมภีร์ 2 แห่ง ก็ระบุให้ไตรลักษณ์เป็นตัชชาบัญญัติ. แต่ว่าโดยตรงแล้วไตรลักษณ์จะไม่ใช่คำพูด หรือ ศัพท์บัญญัติ คงเป็นอาการของขันธ์นั่นเอง ที่ไม่ใช่ปรมัตถ์ก็เพราะไม่สามารถจัดเข้าในสภาวธรรม 72 ข้อใดได้เลย เหมือนอิริยาบถมีการ นั่ง เดิน ยืน นอน และ แลเหลียว เหยียด คู้ เป็นต้นที่ไม่มีสภาวะเช่นกัน. ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นการใช้ทั้งปรมัตถ์ (คือสิ่งที่มีอยู่จริง) และ บัญญัติ (คือสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงทั้งที่เป็นอาการของปรมัตถ์และชื่อเรียกต่างๆ) มากำหนดขันธ์เป็นต้น. ปรมัตถ์ที่ใช้กำหนดวิปัสสนานั้นท่านเรียกว่า ปัจจัตตลักษณะหรือเรียกว่า วิเสสลักษณะ, ลักขณาทิจตุกกะก็ได้ เช่น ลักษณะที่มาประจัญหน้ากันของอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ซึ่งเป็นลักษณะ คือ เป็นเครื่องหมายบ่งให้สังเกตรู้ได้ว่าเป็นปรมัตถ์แต่ละอย่างไม่ปะปนกัน สามารถกำหนดได้ว่า "สิ่งนี้คือผัสสะ" เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นญาตปริญญา และแม้โดยทั่วไปท่านจะยังไม่จัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง แต่หากจะอนุโลมเอาก็ไม่ผิดอะไร เพราะก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการทำวิปัสสนา. ส่วนการใช้ สามัญญลักษณะ หรือเรียกว่า ไตรลักษณ์ เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นเหมือนโรค เป็นเหมือนหัวฝี เป็นเหมือนลูกศร เป็นต้น มากำหนดปรมัตถ์ เช่น รูปขันธ์เป็นต้น อย่างนี้คัมภีร์ทางศาสนามักจัดว่า เป็นตีรณปริญญาและปหานปริญญา และทั่วไปท่านจะจัดว่าเป็นวิปัสสนาโดยตรง เพราะมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติตามเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในโลกิยขันธ์ให้ได้. การปฏิบัติทั้งหมดในคัมภีร์ท่านมักเน้นย้ำว่าจะต้องมีพื้นฐานเหล่านี้ คือ อุคคหะ การเรียนพระธรรม ปริปุจฉา การสอบสวนทวนถามทำความเข้าใจในอรรถะของพระธรรมให้ชัดเจน ธาตา การทรงจำพระธรรมได้ วจสาปริจิตา สวดท่องจนมีความคล่องแคล่วชำนาญคล่องปาก มนสานุเปกขิตา ใคร่ครวญค้นคิดตรวจสอบจนขึ้นใจเข้าใจ ปฏิปัตติ หมั่นเอาพระธรรมมาใช้ในชีวิตจนสามารถจะเห็นอะไรๆ เป็นพระธรรมได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติศีลและสมาธิที่ต้องใช้จนระงับกิเลสได้ถึงระดับหนึ่ง จึงจะทำวิปัสสนาได้ พื้นฐานเหล่านี้ ในพระไตรปิฎกบางแห่ง พระพุทธองค์ถึงกับกล่าวให้คนที่ไม่ทำตามลำดับ ตามขั้นตอนพื้นฐานให้เป็น "โมฆบุรุษ" เลยทีเดียว ซึ่งคำนี้ถือว่าเป็นคำตำหนิที่รุนแรงมากในสมัยนั้น.

วิปัสสนา

วิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น ไม่มีใครชอบความทุกข์ ทุกคนต้องการความสุข การเจริญวิปัสสนา ( หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " วิปัสสนากรรมฐาน") คือความมุ่งมั่นที่จะเฝ้าดูกายและใจของเราเพื่อเข้าใจสภาวะอันแท้จริงของกายและใจ ซึ่งก็คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตน ( อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา) ผลจากการฝึกวิปัสสนา เราจะเริ่มปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง เมื่อจิตมีความยึดมั่นน้อยลง คุณก็เริ่มรู้สึกเป็นอิสระ-เบาสบายและผ่อนคลายในทุกสถานการณ์ การเจริญวิปัสสนานำมาซึ่งความดับทุกข์ และความสงบสุขที่มิได้อาศัยปัจจัยภายนอก วิปัสสนากรรมฐานไม่ใช่ศาสนา แต่เป็นวิธีการที่ทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงก็สามารถนำไปปฏิบัติได้ คนหนุ่มสาว หรือคนแก่ คนสุขภาพแข็งแรง หรือ ไม่สบาย ชาวตะวันออก หรือ ชาวตะวันตก วิปัสสนาสามารถนำไปปฏิบัติในอิริยาบถใดก็ได้จากสี่อิริยาบถใหญ่ และในขณะเคลื่อนไหวก็สามารถปฏิบัติได้เช่นกัน แต่ท่านไม่ต้องเรียนทุกแบบฝึกปฏิบัติ หรือเรียนตามลำดับที่นำเสนอไว้ในวีดีโอนี้ เริ่มต้น ให้เลือกอิริยาบถเดียวหรือสองอิริยาบถ และปฏิบัติให้ได้สิบหรือสิบห้านาทีทุกๆวัน โดยเพิ่มเวลาปฏิบัติขึ้นเรื่อยๆ ท่านสามารถปฏิบัติได้ทุกเวลาของแต่ละวัน ตามที่ท่านสะดวก เมื่อปฏิบัติกรรมฐาน ให้รู้ตัวทั่วพร้อมอยู่กับปัจจุบันตลอดเวลา นั่นคือวิธีฝึกสติ-รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นที่กายและจิต ณ ขณะนี้ เดี๋ยวนี้เท่านั้น อย่าคิดถึงอดีตหรืออนาคต ตัวอย่างเช่น เมื่อได้ยินเสียง... ก็เพียงกำหนดรู้ว่าได้ยินหนอ เดี๋ยวนี้ ในปัจจุบันขณะ ทันทีที่ท่านได้ยินเสียง ก็ให้ลืมเสียงนั้นเสีย ทำไม เพราะเสียงนั้นได้หายไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อความคิดผ่านเข้ามาที่จิตของท่าน ก็เพียงแต่รู้เฉยๆ ว่าความคิดกำลังเกิดขึ้น แล้วให้ปล่อยความคิดนั้นไป อะไรก็ตามที่ท่านประสบเข้า ไม่ว่าดีหรือร้าย ก็เพียงให้อารมณ์รู้ชั่วขณะ แล้วปล่อยมันไป รู้และปล่อยทิ้งไป กำหนดและลืมมันเสีย แบบฝึกปฏิบัติที่ 1: พองหนอ และ ยุบหนอ คลิกที่นี่ เพื่อชมคลิปวีดิทัศน์แบบการฝึกปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง แม้ว่าคำบรรยายจะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็จะช่วยให้ท่านทราบขั้นตอนการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่างๆ ในแบบฝึกนี้ ท่านจะกำหนดดูที่การเคลื่อนไหวของท้องขณะที่คุณหายใจ นั่งขัดสมาธิบนพื้น ใช้เบาะได้ถ้าท่านต้องการ ถ้าอิริยาบถนี้รู้สึกไม่สบาย ท่านอาจจะนั่งบนเก้าอี้ก็ได้ วางมือทั้งสองไว้บนหน้าตัก หงายฝ่ามือขึ้น มือขวาทับมือซ้าย อาจลืมตาหรือหลับตาก็ได้ ท่านควรรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย และไม่เครียด ตอนนี้ ให้ส่งใจไปที่ท้องเหนือสะดือขึ้นไปสองสามนิ้ว ให้กำหนดรู้จุดที่เด่นชัดที่สุด ตามเส้นกึ่งกลางกายตรงขึ้นไป อย่าไปดูที่ตรงจุดนั้น เพียงใส่จิตเข้าไปก็พอ ขณะที่ท่านหายใจเข้า ท้องพอง เราเรียกอาการท้องพองนั้นว่า "พองหนอ" ขณะที่ท่านหายใจออก ท้องยุบ เราเรียกอาการท้องยุบนั้นว่า "ยุบหนอ" ขณะที่ท้องพอง ให้สังเกตการเคลื่อนไหวนั้นด้วยจิต ตั้งแต่เริ่มต้นจนสุดท้าย ขณะที่ท้องยุบ ก็ให้ทำแบบเดียวกัน ทั้งหมดนี้คือการกำหนดรู้อาการท้องพองท้องยุบ ถ้ากำหนดการเคลื่อนไหวของท้องได้ยาก ก็ให้วางมือทั้งสองข้างไว้ที่ท้อง เฝ้าดูให้ต่อเนื่องถึงการเคลื่อนไหวของท้องพองท้องยุบ สลับกันไป ให้ใส่ใจกับปัจจุบันขณะ แต่อย่าไปเพ่งดูการหายใจหรือท้อง เพียงแค่เฝ้าดูอาการเคลื่อนไหวเท่านั้น ท่านจะรู้ชัดว่านี้เป็นเพียงความรู้สึกทางผัสสะที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ท่านไม่ต้องจดจ่อมากเกินไป ตามความเคลื่อนไหวไปเบาๆ ใส่ใจไปที่หน้าท้อง ทำจิตให้ว่างจากความคิด ความจำและแผนงานทั้งหมด ลืมทุกสิ่งยกเว้นอาการท้องพองท้องยุบอย่างเดียวที่กำลังเกิดขึ้น ณ ขณะนี้ แต่ไม่ต้องคิดถึงอาการท้องพอง-ยุบนั้น เพียงแต่รู้เฉยๆ เท่านั้น รู้แล้วปล่อยไป และผ่อนคลาย อย่าคิดถึงกรรมฐานที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร "ก" เพียงแค่กำหนดดูเพื่อจะรู้ว่าขณะนี้ท้องพองหรือยุบ ในปัจจุบันขณะ อาการไหนกำลังเกิดขึ้น มีเพียงท้องพองหรือท้องยุบเท่านั้น เพราะท่านหายใจเข้าออกอยู่ตลอดเวลา ถ้าหยุดหายใจเข้าออก ท่านก็สิ้นใจ แต่อย่าไปเชื่อมการเคลื่อนไหวทางจิตเข้ากับร่างกาย โดยคิดว่า "มันเป็นการเคลื่อนไหวของท้อง" หรือเชื่อมเข้ากับตัวเองโดยคิดว่า "ท้องของฉันเคลื่อนไหว" เพียงเฝ้าดูการเคลื่อนไหวด้วยการกำหนดรู้เฉยๆ "กำหนดรู้เฉยๆ" หมายถึงรู้บางสิ่งบางอย่างโดยไม่ต้องใส่คำพูดเข้าไปในประสบการณ์นั้น ท่านไม่ต้องบรรยายความหรือแม้กระทั่งตั้งชื่อให้มัน เป็นความรู้บริสุทธิ์ โดยไม่ต้องสื่อออกมาเป็นคำพูด แต่ครั้งแรกก็เป็นเรื่องยากที่จะทำเช่นนี้ได้ ผู้เริ่มฝึกใหม่ๆ ควรกำหนดการเคลื่อนไหวโดยมีเครื่องหมายรู้ทางใจ ขณะที่ท้องพองออก พูดว่า "พองหนอ" ขณะที่ท้องยุบลง พูดว่า "ยุบหนอ" ควรภาวนาในใจเงียบๆ "พองหนอ ยุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ" ภาวนาในใจให้ทันขณะอาการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น ไม่ใช่เกิดขึ้นแล้วจึงภาวนา มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสองสามข้อดังนี้คือ เมื่อฝึกปฏิบัติ อย่าจินตนาการถึงท้อง เพียงดูตามทางของอาการเคลื่อนไหวเท่านั้น และให้แน่ใจว่าท่านหายใจอย่างเป็นธรรมชาติ อย่าพยายามบังคับการหายใจของท่าน เมื่อจิตของท่านหลุดไปจากการเคลื่อนไหวของท้อง เพียงแค่รู้ว่ามันหลุดไปแล้ว ภาวนาในใจว่า "คิดหนอ คิดหนอ" หลังจากนั้น ค่อยๆ ดึงจิตกลับมาสู่การเคลื่อนไหวของท้อง ท่านจะต้องทำอย่างนี้เป็นร้อยๆ ครั้ง ดังนั้น ท่านต้องมีความอดทนมาก และไม่ต้องตัดสินด้วยตัวท่านเอง ถ้าอารมณ์รุนแรงเกิดขึ้น ก็ปฏิบัติตามขั้นตอนเดียวกับการกำหนดรู้ความคิด กำหนดรู้อารมณ์นั้นด้วยการภาวนาคำเดียว ตัวอย่างเช่น ถ้าท่านโกรธ ให้ภาวนาว่า "โกรธหนอ" "โกรธหนอ" หลังจากนั้นก็ปล่อยมันไป และค่อยๆ ดึงจิตกลับมาที่อาการเคลื่อนไหวของท้องพอง-ท้องยุบ ไม่ว่าจะเป็นสุขารมณ์หรือทุกขารมณ์ อย่าไปยึดติด ให้แยกตัวท่านออก และเฝ้ามองดูอารมณ์นั้นเหมือนกับว่าท่านกำลังดูภาพยนตร์อยู่ เมื่อมีอะไรมาดึงจิตท่านให้หลุดจากการเคลื่อนไหวของท้อง ก็ให้กำหนดรู้เช่นเดียวกัน ถ้าท่านได้ยินเสียง ก็กำหนดรู้ว่า "ได้ยินหนอ" ถ้าท่านได้กลิ่นหอม ก็กำหนดรู้ว่า "กลิ่นหนอ" ถ้าท่านรู้สึกคัน ก็กำหนดรู้ว่า "คันหนอ" ถ้าร่างกายของท่านรู้สึกปวดหรือรู้สึกสบาย ก็กำหนดรู้ว่า "ปวดหนอ" "สบายหนอ" หรือ "รู้สึกหนอ" หลังจากกำหนดรู้อารมณ์ครั้งหนึ่งหรือสองครั้ง ให้ค่อยๆ ดึงจิตกลับมายังอาการเคลื่อนไหวของท้องพองและท้องยุบ ให้จำไว้ว่า เพียงสังเกตดูสิ่งหนึ่งในเวลาหนึ่งเท่านั้น สิ่งหนึ่ง ณ ปัจจุบันขณะ วิปัสสนาก็เหมือนกับการเดินไปบนก้อนหินเพื่อข้ามฝั่ง การกำหนดรู้ของท่านสามารถข้ามจากอารมณ์กรรมฐานหนึ่งไปยังอารมณ์อื่นๆได้ เช่น ข้ามจากอาการเคลื่อนไหวไปยังเสียง ความรู้สึก และอื่นๆ ควรฝึกกำหนดรู้ท้องพองยุบเป็นประจำ ฝึกที่ไหนก็ได้ จากสิบนาทีถึงหนึ่งชั่วโมง ถ้าท่านต้องการฝึกให้นานขึ้น ก็เปลี่ยนไปฝึกการเดินจงกลม เมื่อปฏิบัติแบบฝึกใดก็ตาม พยายามกำหนดรู้ตัวอารมณ์กรรมฐานเท่านั้น ไม่ใช่ตัวคำภาวนา แบบฝึกปฏิบัติที่ 2: การเคลื่อนไหวของมือ คลิกที่นี่ เพื่อชมคลิปวีดิทัศน์แบบการฝึกปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง แม้ว่าคำบรรยายจะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็จะช่วยให้ท่านทราบขั้นตอนการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่างๆ แบบฝึกปฏิบัติ ก ตรงนี้ เหมือนกับแบบฝึกก่อนๆ ท่านจะดูการอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย ท่านอาจจะลืมตาหรือหลับตาก็ได้ ให้ลืมการเคลื่อนไหวของท้อง ให้กำหนดดูเฉพาะการเคลื่อนไหวของมือ-ดูการเคลื่อนไหว ไม่ใช่ดูที่ตัวมือ ท่านไม่จำเป็นต้องมองดูมือของท่าน แต่ให้สังเกตการเคลื่อนไหวนั้นด้วยจิต แบบฝึกปฏิบัตินี้มีห้าขั้นตอน เริ่มด้วยการวางมือไว้ที่เข่า ตอนนี้พลิกมือขวาขึ้น ยกมือขวาขึ้น ลดมือขวาลง แตะที่เข่า และคว่ำมือลง ขณะที่ท่านเคลื่อนไหว ให้ภาวนาในใจว่า พลิกหนอ ยกหนอ ลงหนอ ถูกหนอ คว่ำหนอ ต้องมั่นใจที่จะหยุดอย่างสนิทในตอนท้ายของแต่ละการเคลื่อนไหว เมื่อท่านปฏิบัติตามลำดับเสร็จสิ้นแล้ว ให้เริ่มปฏิบัติตั้งแต่ขั้นตอนแรกอีกครั้งหนึ่ง ทบทวนลำดับการปฏิบัติได้มากเท่าที่ท่านต้องการ แต่ละการเคลื่อนไหวก็เหมือนกับวิถีที่ก้าวหน้าของสติ ฝึกทำด้วยมือขวาและเปลี่ยนไปเป็นมือซ้ายโดยใช้เวลาเท่าๆ กัน ถ้าท่านไม่สบายและไม่สามารถนั่งหรือเดินปฏิบัติ ท่านอาจจะนอนปฏิบัติก็ได้ แบบฝึกปฏิบัติ ข แบบฝึกปฏิบัตินี้ให้ใช้มือทั้งสองข้าง เริ่มด้วยการวางมือทั้งสองไว้บนเข่า คว่ำฝ่ามือลง พลิกมือขวาขึ้น ยกมือขวาขึ้น ดึงปลายแขนเข้ามา หยุดก่อนที่จะแตะท้อง ตอนนี้วางมือขวาแนบท้อง ให้ทำเหมือนเดิมด้วยมือซ้าย พลิกหนอ ยกหนอ มาหนอ ถูกหนอ เมื่อแนบแขนทั้งสองที่ท้องแล้ว ให้สังเกตรู้ท่านั่งสักครู่หนึ่ง พร้อมภาวนาในใจว่า "นั่งหนอ" ตอนนี้ให้ฝึกการเคลื่อนไหวในลักษณะย้อนกลับ เคลื่อนมือซ้ายออกไป ลดมือซ้ายลง แตะที่เข่า คว่ำมือลง ให้เคลื่อนไหวมือขวาเช่นเดียวกับมือซ้าย ไปหนอ ลงหนอ ถูกหนอ คว่ำหนอ เมื่อท่านปฏิบัติตามลำดับเสร็จสิ้นแล้ว ให้เริ่มปฏิบัติตั้งแต่ขั้นตอนแรกอีกครั้งหนึ่ง ทบทวนลำดับการปฏิบัติได้มากเท่าที่ท่านต้องการ อย่าเคลื่อนไหวเร็วหรือช้าเกินไป ปฏิบัติแบบฝึกนี้ที่ไหนก็ได้เป็นเวลาห้าถึงหกสิบนาที แบบฝึกปฏิบัติที่ 3: อิริยาบถยืน คลิกที่นี่ เพื่อชมคลิปวีดิทัศน์แบบการฝึกปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง แม้ว่าคำบรรยายจะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็จะช่วยให้ท่านทราบขั้นตอนการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่างๆ ในแบบฝึกปฏิบัตินี้ ท่านจะสังเกตดูเฉพาะอิริยาบถยืนเท่านั้น ท่านสามารถยืนภาวนาเป็นเวลาห้านาที สิบนาที หรือสิบห้านาทีก่อนที่จะเดินจงกลม ให้ลืมอาการท้องพองและท้องยุบ ขณะยืนให้วางแขนไว้ด้านหน้า โดยแขนข้างหนึ่งกำข้อมืออีกข้างหนึ่ง ให้ลืมตา แต่อย่ามองไปรอบๆ ห้อง ถ้าท่านอยากมอง ก็ให้กำหนดเอา ณ จุดใดจุดหนึ่งเช่น ฝ่าเท้าของท่าน กำหนดรู้อิริยาบถปัจจุบันของร่ายกาย เมื่อท่านวางแขนขาไว้ในอิริยาบถนี้ ร่างกายก็จะรู้สึกแตกต่างมากกว่าอยู่ในอิริยาบถนอนหรืออิริยาบถนั่ง ให้กำหนดดูว่าสภาวะความรู้สึกเมื่ออยู่ในอิริยาบถยืน ท่านอาจจะคิดถึงการถ่ายภาพทางจิตของอิริยาบถนี้ ในขณะเดียวกัน ให้ภาวนาในใจว่า "ยืนหนอ" ให้รู้อิริยาบถด้วยจิต ไม่ใช่ด้วยตา หลังจากกำหนดรู้อิริยาบถยืนชั่วขณะหนึ่งแล้ว ก็ให้ปล่อยไป หลังจากนั้นให้รีบนำจิตกลับมาที่อิริยาบถนั้นอีกครั้งหนึ่งทันที ให้หมั่นดูอิริยาบถในปัจจุบันขณะ คือทุกขณะจิต ถึงแม้ท่านไม่ได้สังเกตดูการเคลื่อนไหวของร่างกาย แต่จิตของท่านยังคงเคลื่อนไปเพราะจิตกลับไปดูอิริยาบถนั้นครั้งแล้วครั้งเล่า คุณอาจจะสังเกตการนั่งและการนอนในรูปแบบเดียวกันนี้ แบบฝึกปฏิบัติที่ 4: มีสติเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ผู้เริ่มฝึกใหม่ๆ มักจะหลงลืมสติเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ในแบบฝึกปฏิบัตินี้ เราจะสาธิตวิธีเปลี่ยนจากอิริยาบถหนึ่งไปเป็นอีกอิริยาบถหนึ่งอย่างมีสติทุกขั้นตอน ให้สังเกตทุกการเคลื่อนไหวย่อยๆของร่างกาย แต่ลำดับแรก ให้กำหนดจิตด้วยการภาวนาว่า "อยากเคลื่อนหนอ" จากนั้นให้วางมือทั้งสองขนาบท้อง หยุดนิ่งสนิทหลังจากการเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง ให้เคลื่อนไหวอวัยวะไปทีละอย่างซึ่งอาจเป็นแขนหรือขาก็ได้ เริ่มยืนขึ้นอย่างช้าๆ โดยแบ่งลำดับการยืนออกเป็นทีละขั้นตอน ทันทีที่ท่านยืนเรียบร้อยแล้ว ให้สังเกตอิริยาบถใหม่สักครู่หนึ่ง สังเกตดูความรู้สึกว่าเป็นอย่างไร ระหว่างปฏิบัติกรรมฐาน ให้ประยุกต์ใช้วิธีการตามลำดับขั้นตอนเมื่อไหร่ก็ตามที่ท่านเปลี่ยนอิริยาบถ เมื่อทำอย่างนี้สติก็จะไม่ขาดตอน แบบฝีกปฏิบัติที่ 5: การเดินจงกลมเบื้องต้น คลิกที่นี่ เพื่อชมคลิปวีดิทัศน์แบบการฝึกปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง แม้ว่าคำบรรยายจะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็จะช่วยให้ท่านทราบขั้นตอนการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่างๆ ให้หาสถานที่ที่ท่านสามารถเดินในเส้นตรงได้อย่างน้อยเจ็ดก้าว ถ้าเป็นไปได้ให้ถอดรองเท้า เริ่มต้นด้วยการยืน วางมือไว้ด้านหน้า มือข้างหนึ่งกำมืออีกข้างหนึ่งไว้ ตั้งหน้าตรง หรือ มองที่พื้นตรงหน้าท่านออกไปหลายฟุต ลำดับแรก ให้สังเกตอิริยาบถยืน ขณะยืน ให้ภาวนาในใจว่า "ยืนหนอ" "ยืนหนอ" หลังจากนั้นให้ตั้งใจที่จะเดิน ก้าวขวาย่าง ให้เท้าซ้ายเหยียบอยู่ที่พื้น ขณะที่ย่างเท้าขวา-ซ้าย ให้ภาวนาในใจว่า "เหยียบหนอ" เมื่อท่านเหยียบเท้าขวาลงบนพื้นแล้ว ให้ก้าวซ้ายออกไป ให้เดินไปเรื่อยๆ โดยก้าวท้าวไปทีละข้าง ก้าวสุดท้าย ให้วางเท้าสองข้างเข้าด้วยกัน และภาวนาในใจว่า "หยุดหนอ" ให้สังเกตอิริยาบถยืนอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้ ท่านจะเริ่มหมุนกลับ การหมุนกลับมีสี่จังหวะ ขณะที่ท่านกลับ ให้หมุนศีรษะขนานไปกับลำตัวเหมือนกับว่าคุณสวมสายคล้องคอ ลำดับแรก ให้ตั้งใจที่จะหมุนกลับ โดยภาวนาในใจว่า "อยากกลับหนอ" หลังจากนั้น ให้ยกปลายเท้าขวาและหมุนส้นเท้าตาม กำหนด "พลิกหนอ" ให้ยกเท้าซ้ายและวางลง กำหนด ‘พลิกหนอ’ เท้าซ้ายไม่หมุน แต่ก้าวตามไป หมุนเท้าขวากลับอีกครั้งหนึ่ง หมุนเท้าซ้ายกลับอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้ ท่านควรหันหน้าไปยังทิศทางตรงกันข้าม หันไป 180 องศา ตอนท้าย ให้ภาวนาว่า "อยากเดินหนอ" และเดินต่อไป ต้องแน่ใจว่าได้หยุดสนิทแล้วในก้าวสุดท้ายก่อนที่จะย่างเท้าอีกข้างหนึ่ง ระหว่างเดินจงกลม อย่าใส่ใจสิ่งที่ท่านกำลังเห็น และให้ลืมการเคลื่อนไหวของท้อง ให้กำหนดดูเฉพาะการเคลื่อนไหวของเท้าเท่านั้น ดูเฉพาะอาการเคลื่อนไหว ไม่ใช่ตัวเท้าที่เป็นเนื้อหนัง ข้อสังเกตหนึ่งในตอนท้ายคือ อย่ามองไปที่เท้าของท่าน แต่ให้ตามความเคลื่อนไหวด้วยจิตรู้ ท่านอาจปฏิบัติแบบฝึกนี้ที่ไหนก็ได้เป็นเวลาสิบห้านาทีถึงหนึ่งชั่วโมง แบบฝึกปฏิบัติที่ 6: การเดินจงกลมขั้นสูง ในการเดินจงกลมขั้นสูง แต่ละย่างก้าวจะถูกแบ่งเป็นการเคลื่อนไหวย่อยๆ มากมาย มีขั้นตอนอิริยาบถเดินขั้นสูงที่แตกต่างกันไปห้าขั้นตอน ท่านสามารถแทนจังหวะใดก็ได้ด้วยจังหวะพื้นฐานที่พวกเราเพิ่งสาธิตให้ดู การหมุนกลับก็ให้ทำเหมือนกัน ไม่ว่าท่านจะอยู่ในจังหวะไหน การเดินจงกลมสองจังหวะ คลิกที่นี่ เพื่อชมคลิปวีดิทัศน์แบบการฝึกปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง แม้ว่าคำบรรยายจะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็จะช่วยให้ท่านทราบขั้นตอนการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่างๆ ยกส้นเท้าขึ้น หลังจากนั้น ให้วางเท้าลง "ยกหนอ เหยียบหนอ ยกหนอ เหยียบหนอ" ให้จำไว้ว่า ต้องหยุดอย่างสนิทหลังการเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง การเดินจงกลมสามจังหวะ คลิกที่นี่ เพื่อชมคลิปวีดิทัศน์แบบการฝึกปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง แม้ว่าคำบรรยายจะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็จะช่วยให้ท่านทราบขั้นตอนการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่างๆ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ การเดินจงกลมสี่จังหวะ คลิกที่นี่ เพื่อชมคลิปวีดิทัศน์แบบการฝึกปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง แม้ว่าคำบรรยายจะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็จะช่วยให้ท่านทราบขั้นตอนการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่างๆ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ การเดินจงกลมห้าจังหวะ คลิกที่นี่ เพื่อชมคลิปวีดิทัศน์แบบการฝึกปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง แม้ว่าคำบรรยายจะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็จะช่วยให้ท่านทราบขั้นตอนการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่างๆ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ เหยียบหนอ การเดินจงกลมหกจังหวะ คลิกที่นี่ เพื่อชมคลิปวีดิทัศน์แบบการฝึกปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง แม้ว่าคำบรรยายจะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็จะช่วยให้ท่านทราบขั้นตอนการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่างๆ ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ กดหนอ แบบฝึกปฏิบัติที่ 7: อิริบถนอน คลิกที่นี่ เพื่อชมคลิปวีดิทัศน์แบบการฝึกปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง แม้ว่าคำบรรยายจะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็จะช่วยให้ท่านทราบขั้นตอนการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่างๆ เวลาทั้งวันที่ผ่านไปด้วยการปฏิบัติกรรมฐานอย่างเข้มข้นนั้น ท่านควรปฏิบัติวิปัสสนาให้ครบทั้งสี่อิริยาบถ รวมถึงอิริยาบถนอนด้วย แต่อย่านอนนานเกินกว่าสิบห้านาที มิเช่นนั้น ท่านอาจจะผลอยหลับได้ ถ้าท่านไม่สบาย ท่านก็สามารถอยู่ในอิริยาบถนอนนานขึ้นได้ นอนตะแคงข้าง วางแขนไว้ใต้ศีรษะ หรือ เหยียดขนานไปด้านหน้าอก แขนส่วนบนวางขนาบร่างกาย ท่านอาจจะใช้หมอนหนุนศีรษะก็ได้ ตอนนี้ ให้สังเกตอิริยาบถนอนในลักษณะเดียวกันกับอิริยาบถยืนที่ท่านเคยสังเกตมาแล้ว ให้ลืมอาการท้องพองท้องยุบ สังเกตอิริยาบถของร่างกายที่เป็นปัจจุบันขณะ ขณะที่ท่านนอนลง ให้ภาวนาในใจว่า "นอนหนอ" "นอนหนอ" หรือแทนที่จะสังเกตอิริยาบถนอน ท่านอาจจะดูอาการเคลื่อนไหวของท้องก็ได้ แต่อย่าดูอาการทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน แบบฝึกปฏิบัติที่ 8: การรับประทานอย่างมีสติ คลิกที่นี่ เพื่อชมคลิปวีดิทัศน์แบบการฝึกปฏิบัติดังกล่าวข้างต้น อนึ่ง แม้ว่าคำบรรยายจะเป็นภาษาอังกฤษ แต่ก็จะช่วยให้ท่านทราบขั้นตอนการเคลื่อนไหวร่างกายในอิริยาบถต่างๆ ให้ปฏิบัติแบบฝึกนี้ระหว่างการปฏิบัติกรรมฐานอย่างเข้มข้น การปฏิบัติกรรมฐานช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมพิเศษที่นำไปสู่การปฏิบัติวิปัสสนาได้ตลอดทั้งวัน เพราะการรู้แจ้งสามารถเกิดได้ทุกเวลา แม้ขณะรับประทานหรือแปรงฟัน ระหว่างปฏิบัติกรรมฐานท่านควรทำทุกๆ กิจกรรมอย่างมีสติ ให้ระลึกไว้ว่าต้องหยุดอย่างสนิทหลังจากการเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง ถ้าท่านกำลังยกจาน ก็ให้วางจานนั้นไว้บนโต๊ะก่อน พร้อมภาวนาในใจว่า "วางหนอ" หลังจากนั้น ให้ยืนอยู่ข้างๆ เก้าอี้ และภาวนาว่า "ยืนหนอ" ต่อจากนั้น ให้ยื่นมือออกเพื่อปรับเก้าอี้ โดยใส่ใจถึงความรู้สึกสัมผัสนั้น ภาวนาในใจว่า "อยากนั่งหนอ" นั่งลงอย่างช้าๆ ให้มีสติรู้กายเคลื่อนไหว วางมือทีละข้างไว้บนเข่าทั้งสอง ตอนนี้ คุณก็พร้อมที่จะรับประทานแล้ว ก่อนรับประทาน ให้มองดูอาหาร ภาวนาในใจว่า "เห็นหนอ" หลังจากนั้น ให้กำหนดจิตที่จะเคลื่อนมือ พลิกมือขึ้น ยกมือขึ้น หยิบส้อมหรือช้อน รู้สึกถึงการสัมผัสนั้น ยกส้อมขึ้นและเคลื่อนไปที่อาหาร ใช้ส้อมจิ้มอาหาร ยกอาหารใส่ปาก ใส่อาหารไว้ในปากแต่อย่าเพิ่งเคี้ยว วางส้อมลง และนำมือกลับไปวางไว้ที่เข่า ท่านยังไม่เริ่มเคี้ยว ตอนนี้ ให้เคี้ยวได้ โดยกำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของกรามหรือลิ้น เมื่อท่านกลืน ให้ภาวนาในใจว่า "กลืนหนอ" ขณะเคี้ยว รสชาติอาหารก็จะปรากฏขึ้น ถ้ารสชาติไม่จัด ก็ให้กำหนดไปที่การเคลื่อนไหวของกราม ถ้ารสชาติจัด ก็ให้กำหนดรู้ที่รสชาตินั้น ขณะเดียวกันให้กำหนดรู้ความอยากที่เกิดขึ้นเพราะอาหาร เมื่อเคี้ยวและกลืนแล้ว ให้รู้ว่าปากว่างเปล่า ให้ตั้งใจที่จะรับประทานคำต่อไป และ เริ่มตามลำดับเดิมอีกครั้งหนึ่ง ขณะเคี้ยว ให้พยายามแยกรสชาติออกจากอาหารที่น่าลิ้มลองออกจากการเคลื่อนไหวของลิ้น และออกจากความอยากอาหาร ทั้งหมดนี้เป็นสภาวะที่แตกต่าง ให้กำหนดรู้ว่า "เคี้ยวหนอ" "รสหนอ" "ถูกหนอ" "อยากหนอ" และอื่นๆ พึงระลึกไว้ว่า ในเวลาหนึ่งให้กำหนดรู้หนึ่งอารมณ์กรรมฐานเท่านั้น ถ้าท่านจำเป็นต้องใช้มือทั้งสองข้างตัดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ท่านก็กำหนดใจไปที่มือข้างเดียวเท่านั้น ท่านอาจจะรับประทานได้มากเท่าที่ต้องการ ขอเพียงแต่ให้มีสติเท่านั้น ท่านสามารถประยุกต์ขั้นตอนการฝึกรับประทานอย่างมีสตินี้ไปใช้กับการดื่มน้ำได้ด้วย ให้ดูที่ต้นจิต พร้อมกับภาวนาว่า "อยากดื่มหนอ" ยกมือขึ้น เหยียดมือออก หยิบแก้วน้ำขึ้น เคลื่อนแก้วน้ำเข้าหาตัว จิบน้ำสองสามครั้ง และวางแก้วคืนไว้บนโต๊ะ ตอนนี้ดึงแขนกลับไปวางที่เข่า เคลื่อนไหวอย่างเป็นขั้นตอน หวังว่าทุกท่านจะปฏิบัติแบบฝึกบางส่วนจากแบบฝึกทั้งหมดได้ทุกๆ วัน จนกระทั่งเข้าถึงความสิ้นทุกข์ วิมุตติ และบรมสุข

สวัสดีครับ